มีเสบียงสำรอง
แนวทางที่ผมใช้และแนะนำให้ลูกศิษย์ใช้จนมีอิสรภาพทางการเงินมาแล้วมากมาย คือวิธีแบ่งเงินออมตัวเองออกเป็น 3 ตะกร้า ดังนี้
แนวทางที่ผมใช้และแนะนำให้ลูกศิษย์ใช้จนมีอิสรภาพทางการเงินมาแล้วมากมาย คือวิธีแบ่งเงินออมตัวเองออกเป็น 3 ตะกร้า ดังนี้
ในส่วนนี้ เราจะมาลงรายละเอียดกันที่ ตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือ Emergency Basket กันก่อน
คำตอบคือ “สำคัญมาก” และสำคัญถึงระดับที่เป็น “เป้าหมายแรกของการออม” สำหรับคนทุกคนเลยทีเดียว
เรื่องการออมหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แค่เหลือใช้แล้วกองรวมกันไว้ ก็เรียกว่าเป็น “เงินออม” ได้ แต่ที่ถูกต้องคนเราควรจัดแบ่งเงินออมแยกไว้ในแต่ละวัตถุระสงค์ เพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการ
เหตุผลที่คนเราควรให้ความสำคัญกับตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเป็นเป้าหมายแรกของการออม เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องสภาพคล่อง เผื่ออนาคตอันไม่แน่นอนในระยะสั้นให้เราสามารถพร้อมรับมือได้ ก่อนที่จะก้าวไปสู่ขั้นตอนของการสร้างความมั่งคั่ง
“มีเงินอยู่หนึ่งก้อน…ลงทุนอะไรดี”
นี่คือหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ผมถูกถามทุกวัน (ทุกวันจริงๆ นะ) เพราะแค่ฟังคำถาม ก็รู้แล้วว่าเจ้าของคำถามน่าจะยังไม่ได้ศึกษาเครื่องมือลงทุนชนิดใดจริงจังเลยสักอย่าง
นอกจากจะไม่ให้คำตอบแล้ว แทบทุกครั้งผมจะย้อนถามกลับไปเสมอว่า
“ก่อนจะลงทุน มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินแล้วหรือยัง”
ลองคิดดูว่า ถ้าเรานำเงินที่เก็บออมได้ไปลงทุนทั้งหมด เกิดมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินขึ้นมา เราจะทำอย่างไร ถ้าซื้อหุ้นแล้วราคาหุ้นกำลังสูงขึ้น เราก็คงไม่อยากขายออกมา ในทางตรงกันข้าม หากราคาหุ้นกำลังตก เราก็ไม่สบายใจที่จะขายมันออกมาเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรสร้างเกราะเล็กๆ เอาไว้ป้องกันการลงทุนของเราไม่ให้ได้รับผลกระทบ และในขณะเดียวกัน ก็มีพอไว้สำหรับใช้จ่ายเมื่อมีภัยการเงินเข้ามาเยือนด้วย
ทีมฟุตบอลที่มุ่งเน้นแต่เกมรุก แต่ไม่สร้างและพัฒนากองหลังและเกมรับให้แข็งแกร่ง มักจะไปไม่ถึงดวงดาว เรื่องการเงินส่วนบุคคลก็เช่นกัน คนที่มุ่งแต่ละหาช่องทางลงทุน โดยไม่มองเรื่องของการปกป้องความเสี่ยง ก็มักจะเจอบททดสอบชนิดไม่คาดฝันอยู่เสมอ
ทั้งนี้โดยหลักแล้ว ขนาดของตะกร้าเงินสำรองที่เหมาะสมสำหรับคนเราคือ 6-12 เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเสี่ยงทางการเงินของแต่ละบุคคล
แต่ไม่เคยแบ่งหรือกันเอาไว้สำหรับสำรองเผื่อฉุกเฉินเลย อันนี้ง่ายครับ แค่เจียดหรือกันเงินออกมาตามตัวเลขที่คำนวณได้ก็เป็นอันเรียบร้อย เช่น ถ้ามีเงินเก็บอยู่ 300,000 บาท และคำนวณแล้วว่าต้องมีเงินสำรอง 120,000 บาท (กรณีรายจ่ายรวมต่อเดือน 20,000 บาท) ก็ให้แยกเงิน 120,000 บาท ไว้เป็นเงินสำรอง ส่วนอีก 180,000 บาท ก็ค่อยมองหาการลงทุนเพื่อต่อยอดให้งอกเงยต่อไป
หรือยังมีเงินสำรองไม่ถึง 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน อาจเริ่มเก็บโดยหัก 10% ที่เราสะสมก่อนใช้จ่ายในแต่ละเดือน มาสะสมในตะกร้าเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเยอะ เก็บ 10% ไม่ไหว ก็ให้เริ่มเท่าที่ไหว ออมตามกำลังไปก่อนได้
ในระหว่างเดือนหรือระหว่างปี หากมีเงินก้อนใหญ่เข้ากระเป๋า เช่น คอมมิชชั่น โบนัส เงินปันผล หรือรายได้อื่นๆ ก็สามารถแบ่งมาเติมลงในตะกร้านี้ เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น
หลายคนฟังตรงนี้แล้วอาจจะรู้สึกท้อ เพราะจะว่าไปการเก็บเงินสำรองให้ได้เพียงพอค่าใช้จ่าย 6 เดือนนั้น ถ้าไม่มีวินัยมากพอ ต้องยอมรับว่าไม่ง่ายเลย คิดง่ายๆ ว่าหักออมเดือนละ 10% เพื่อเป้าหมาย 6 เดือน หรือ 600% ก็ต้องใช้เวลาเก็บกันอย่างน้อย 60 เดือน หรือ 5 ปี
แต่อย่างที่บอกครับว่า “ถ้ามีวินัยมากพอ” และ มีรายได้ทางอื่น แล้วรู้จักจัดสรรและบริหาร เช่น ทุกครั้งที่ได้คอมมิชชั่น โบนัส หรือเงินปันผล เราอาจตั้งเป็นกติกากับตัวเองเลยว่าจะออมครึ่งหนึ่ง และกินใช้จ่ายเติมเต็มความสุขอีกครึ่งหนึ่ง เพียงเท่านี้ทุกอย่างก็ง่ายและเร็วขึ้นได้แล้ว
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราได้โบนัส 2 เดือน แล้วแบ่งออมในตะกร้าเผื่อฉุกเฉินสัก 1 เดือน แค่นี้ก็ได้เงินออมเพิ่มอีก 1 ใน 6 ของเป้าหมายแล้ว ระยะเวลาเก็บที่เคยนาน 5 ปี ก็จะเหลือแค่ 3 ปี
หลักคิดสำคัญในการบริหารเงินสำรองก็คือ ต้องพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต เนื่องจากเราไม่รู้ว่าเหตุไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้น เงินก้อนนี้ต้องเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง และมูลค่าไม่ผันผวน ไม่เพิ่มหรือลดลงตามภาวะตลาด
ด้วยเหตุนี้ ทองคำ หุ้น และอนุพันธ์ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรลืมไปได้เลย เพราะมีความผันผวนของราคาในระดับที่สูง (คือมีความเสี่ยงสูง) ในขณะเดียวกัน ประกันหรืออสังหาริมทรัพย์ก็ไม่เหมาะเช่นกัน เพราะมีสภาพคล่องต่ำ แปลงกลับเป็นเงินสดได้ยาก
ถึงตรงนี้ใครหลายคนที่ห่วงเรื่องการลงทุนอาจแย้งว่ารอจนเก็บเงินสำรองได้ครบ กว่าจะได้เริ่มลงทุน เสียโอกาสกันพอดี เรื่องนี้ต้องบอกเลยครับว่า โอกาสในการลงทุนนั้นมีอยู่เสมอ และถ้าหากอยากลงทุนจริงๆ ระหว่างเก็บเงินเผื่อสำรองฉุกเฉิน ก็ให้แบ่งเวลาไปศึกษาหาความรู้เรื่องเครื่องมือลงทุน (จะได้ไม่ต้องคอยถามคนอื่นว่าลงทุนอะไรดี) จากนั้นอาจแบ่งเงินเก็บอีกก้อนไปลงทุนควบคู่กันไปก็ได้ (การลงทุนบางอย่างไม่ต้องใช้เงินตัวเองทั้งหมดก็มีนะ เอาไว้คุยกันใน “เรียนรู้การใช้พลังทวี”)
WORKSHOP
พิชิตเป้าหมายแรกของการออม…สร้างเสบียงสำรองฉุกเฉิน
เริ่มเลยนะครับ! เพราะถ้าเป้าหมายแรกของการออมยังทำกันไม่ได้ เรื่องคิดจะมั่งคั่ง
ก็ยังอีกไกลเลยครับ